โควิดก็ต้านไม่อยู่ ทุเรียนไทย 4 เดือนส่งออกจีนขยาย 78%

โควิดก็ต้านไม่อยู่ ทุเรียนไทย 4 เดือนส่งออกจีนขยาย 78%

ข่าวกระทรวงพาณิชย์ รายงาน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเผยวิกฤตโควิด-19 ไม่กระทบการส่งออกทุเรียนไทย ยอด 4 เดือนพุ่ง 30% เฉพาะตลาดจีนขยายตัวสูงถึง 78% มีสัดส่วน 72% ของการส่งออกทั้งหมด เผยเอฟทีเอเป็นปัจจัยหลักช่วยหนุนการเติบโต หลังจีนไม่เก็บภาษีนำเข้าจากไทยแล้ว แนะติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด พร้อมเพิ่มการแปรรูป เพิ่มโอกาสเจาะตลาดอาหารแห้งที่เก็บได้นาน

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ 

เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ติดตามสถิติการส่งออกทุเรียนสดของไทยในช่วง 4 เดือนของปี 2563 (ม.ค.-เม.ย.) พบว่า มีการขยายตัวอย่างน่าพอใจ มีมูลค่า 788 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 30% โดยเฉพาะตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย ยังมีการบริโภคสูง แม้จะอยู่ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยการส่งออกในช่วงดังกล่าว มีมูลค่า 567 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 78% หรือมีสัดส่วนการส่งออกถึง 72% ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมา เป็นการส่งออกไปฮ่องกง อาเซียน ไต้หวัน และสหรัฐฯ โดยไทยยังเป็นแชมป์ผู้ส่งออกทุเรียนอันดับที่ 1 ของโลก นำหน้าฮ่องกงและมาเลเซียหลายเท่าตัว

ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนผลักดันให้การส่งออกทุเรียนของไทยเติบโต มาจากความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ที่มีส่วนช่วยขจัดอุปสรรคภาษีนำเข้าในประเทศคู่ค้า ทำให้ทุเรียนไทยมีโอกาสส่งออกและแข่งขันได้มากขึ้น โดยปัจจุบันทุเรียนไทยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าใน 16 ประเทศคู่เอฟทีเอ ได้แก่ จีน ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย สปป.ลาว กัมพูชา เมียนมา ฟิลิปปินส์ บรูไน อินเดีย ชิลี และเปรู เหลือเพียง 2 ประเทศ คือ มาเลเซียและเกาหลีใต้ ที่ยังเก็บภาษีนำเข้าทุเรียนจากไทยอยู่

ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบการส่งออกทุเรียนของไทยไปยังตลาดจีน โดยดูตัวเลขปี 2562 ที่ผ่านมา ที่ส่งออกได้มูลค่า 850 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับปี 2545 ซึ่งเป็นปีก่อนที่จีนจะยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าทุเรียนจากไทย ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน ที่มีมูลค่าส่งออกเพียง 3 หมื่นเหรียญสหรัฐ การส่งออกเพิ่มขึ้นถึง 2,832,366% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเอฟทีเอ ได้มีส่วนช่วยในการส่งออกได้เพิ่มขึ้นจริง

อย่างไรก็ตาม แม้ในภาพรวมการส่งออกทุเรียนสดไทยจะไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 แต่ผู้ประกอบการควรติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อรองรับผลกระทบในด้านอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การขนส่งสินค้า การขาดแคลนแรงงาน และความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค และต้องพิจารณาเพิ่มผลิตภัณฑ์เป็นทุเรียนแปรรูป เช่น ทุเรียนทอด และทุเรียนอบแห้ง เป็นต้น เพื่อตอบโจทย์กระแสความนิยมอาหารแห้งที่เก็บรักษาได้นาน

ส่อตกงาน 8.4 ล้านคน ว่างงานแล้วเกือบ 4 แสน พิษโควิด

ว่างงาน – เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2563 ศ.พิเศษ ดร.ทศพร  ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมคณะผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง ได้แถลงข่าวรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2563 พบว่า

1.อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ

2.หนี้สินครัวเรือนชะลอการขยายตัว

3.การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังลดลง

4.คดีอาญาลดลง

5.การเกิดอุบัติเหตุทางบกลดลง

แต่มีประเด็นที่ต้องติดตาม ได้แก่

1.การจ้างงานลดลง

2.การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอสถานการณ์ทางสังคมที่น่าสนใจ ได้แก่ การเลิกเรียนกลางคัน : ความเสี่ยงของอนาคตเยาวชนไทย และพฤติกรรมทางการเงินของครัวเรือนไทยและความเสี่ยงทางการเงิน รวมทั้งการเสนอบทความเรื่อง “วิกฤต COVID-19 : บทเรียนเพื่อการก้าวต่อไปอย่างมีภูมิคุ้มกัน” โดยสรุปสาระดังนี้

การจ้างงานลดลงอย่างต่อเนื่อง อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง

ไตรมาสหนึ่ง ปี 2563 ผู้มีงานทำ 37,424,214 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.7 จากการจ้างงานภาคเกษตรกรรมที่ลดลงร้อยละ 3.7 ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งที่มีความรุนแรงและต่อเนื่องตั้งแต่กลางปี 2562 ขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมยังคงขยายตัวได้เล็กน้อยที่ร้อยละ 0.5 จากการขยายตัวของการจ้างงานในสาขาโรงแรมและภัตตาคาร และสาขาการศึกษา

ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ยังไม่แสดงผลกระทบในจำนวนการจ้างงานภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวมากนัก ส่วนหนึ่งเนื่องจากในช่วงเดือนมกราคม-ต้นมีนาคม การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ยังคงจำกัดอยู่ในบางพื้นที่ และผู้ประกอบการยังรอดูสถานการณ์ของผลกระทบ อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณของผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ต่อการจ้างงานคือ ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยภาคเอกชนลดลงเท่ากับ 42.8 ชั่วโมง/สัปดาห์ จาก 43.5 ชั่วโมง/สัปดาห์ในช่วงเดียวกันปีที่แล้ว โดยผู้ที่ทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมงขึ้นไป/สัปดาห์ ลดลงร้อยละ 9.0 นอกจากนั้น สถานประกอบการมีการขอใช้มาตรา 75 ในการหยุดกิจการชั่วคราวมีจำนวนทั้งสิ้น 570 แห่ง และมีแรงงานที่ต้องหยุดงานแต่ยังได้รับเงินเดือน 121,338 คน

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป