มหาเศรษฐญี่ปุ่นเสาะหาเพื่อนร่วมทาง 8 คนไป ดวงจันทร์ ด้วยจรวดของ SpaceX

มหาเศรษฐญี่ปุ่นเสาะหาเพื่อนร่วมทาง 8 คนไป ดวงจันทร์ ด้วยจรวดของ SpaceX

Yusaku Maezawa มหาเศรษฐญี่ปุ่น ได้ทำการประกาศเชิญชวนในการร่วมสมัครหาเพื่อนร่วมเดินทางจำนวน 8 คน สำหรับภารกิจส่วนตัวในการเดินทางไปยัง ดวงจันทร์ ด้วยบริการจากทาง SpaceXYusaku Maezawa มหาเศรษฐญี่ปุ่น ผู้ก่อตั้งบริษัทค้าปลีกออนไลน์ด้านแฟชั่นที่ใหญที่สุดของประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการประกาศเชิญชวนร่วมสมัครหา เพื่อนร่วมทางจำนวน 8 คน สำหรับภารกิจส่วนตัวในการเดินทางไปยัง ดวงจันทร์ ที่วางไว้ว่าจะเดินทางในปี 2023 โดยใช้บริการการเดินทางสู่อวกาศของ SpaceX

โดยเป็นการประกาศผ่านช่องทาง Youtube โดยทาง Maezawa 

ได้ประกาศถึงภารกิจดังกล่าวที่ใช้ชื่อว่าโครงการ “dearMoon” ที่จะเป็นการนำพาศิลปินจากทั่วทุกมุมโลกจำนวน 6-8 คน ร่วมเดินทางไปกับเขา เพื่อค้นหาแรงบัลดาลใจบนดวงจันทร์ และเมื่อกลับมานั้น

ศิลปินทุกคนต้องทำการสร้างสรรค์ผลงานจากสิ่งที่ได้รับจากทริปดังกล่าว

ซึ่งล่าสุดนี้ ได้ทำการเปลี่ยนเกณฑ์ให้มีความกว้างขวางมากขึ้นโดยผู้ที่ทำการสมัครนั้นจะต้องมีคุณลักษณะ 2 ประการด้วยกันได้แก่

1.สามารถที่จะผลักดันขอบเขต/สิ่งที่ห่อหุ้มอยู่เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ๆ และสังคมที่ดีงามไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง

2.ยินดีที่จะช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อนร่วมทีมคนอื่น ๆ ที่แลกเปลี่ยนแรงบัลดาลใจที่คล้ายคลึงกัน

Maezawa ได้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า แผนการของเขานั้นได้มีการวิวัฒนาการไปจากเดิม โดยเพิ่มเติมว่า “ทุก ๆ คนนั้นอาจจะมีความสร้างสรรค์บางอย่างที่สามารถจะถูกเรียกได้ว่าเป็นศิลปินได้”

ก่อนหน้านี้นั้น โครงการไปเที่ยวดวงจันทร์ของ Maezawa ได้มีการเปลี่ยนแปลงตลอด 2 ปีที่ผ่านมา โดยในช่วงแรกนั้นมันถูกตั้งเป็นโครงการหา “ผู้ร่วมทางผู้หญิง” ที่จะเดินทางร่วมกันกับเขาไปยังดวงจันทร์ ซึงก็มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการนี้ถึง 27,000 กว่าราย และถูกนำไปทำเป็นรายการฉายผ่านบริการสตรีมมิ่งของญี่ปุ่นโดยทาง AbemaTV อีกด้วย แต่โครงการนี้ก็ได้ล่มลงไป เนื่องด้วย “ปัญหาส่วนตัว” ของ Maezawa 

กลับมาในส่วนของโครงการปัจจุบันนี้ Maezawa ได้กล่าวว่าทริปดังกล่าวนั้น เขาจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตลอดทั้งโครงการ และมันจะเป็นทริปส่วนตัวของเขาและผู้เข้าร่วมโครงการอีกด้วย ถึงกระนั้นเขาก็ยังไม่มีการบอกรายละเอียดอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น ผู้เข้าร่วมจะต้องทำการฝึกฝนใด ๆ หรือไม่ และต้องมีการเตรียมความพร้อมอย่างไร เป็นต้น

Perseverance แล่นทดสอบบน ดาวอังคาร เป็นครั้งแรกแล้ว

ในช่วงที่ผ่านมา (เดือนกุมภาพันธ์)  NASA ได้ทำการปล่อยรถสำรวจบังคับ Perseverance ลงบน ดาวอังคาร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็ได้ทำการวิ่งทดสอบตัวรถบนพื้นที่จริงเป็นครั้งแรก ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทาง NASA นั้นได้มีการปล่อยรถสำรวจบังคับ Perseverance ไปยังดาวอังคารได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเมื่อไม่นานมานี้ มันก็ได้ทำการแล่นบนพื้นที่จริงครั้งแรกเป็นที่เรียบร้อย โดยเคลื่อนที่เป็นระยะทาง 21 ฟุต (6.40 เมตร)

โดยเป็นการทดสอบภายในวันที่ 4 มีนาคม 2564 วึ่งได้มีการรายงานถึงการทดสอบดังกล่าวว่า ได้ทำการขับเคลื่อนไปข้างหน้าเป็นระยะทาง 13 ฟุต (3.96 เมตร) และได้ทำการเลี้ยว-ถอยหลังไปอีก 8 ฟุต (2.44 เมตร) ถือว่าได้เคลื่อนที่ไปโดยรวม 21 ฟุต (6.40 เมตร)

ซึ่งถือว่าเป็นเพียงแค่ก้าวแรกในภารกิจของ Perseverance ที่จะต้องสำรวจตัวดาวอังคารเป็นระยะเวลาภารกิจไปอีก 2 ปีข้างหน้า

Anais Zarifian นักวิศวกรทางด้านการทดสอบการเคลื่อนที่ ได้กล่าวว่า “ฉันไม่คิดว่าตัวเองจะมีความสุขเมื่อได้เห็นรอยล้อ และฉันเห็นมันเป็นจำนวนมาก” “นี้ถือว่าเป็นก้าวสำคัญสำหรับภารกิจนี้ และสำหรับทีมงานด้านการเคลื่อนที่ เราได้ทำการทดสอบบนโลก แต่การได้ขับมันบนดาวอังคารนั้นถือว่าเป็นเป้าหมายใหญ่ที่สุด”

เจ้า Perseverance นั้นจะขับเคลื่อนได้ไม่เร็วเท่าไหร่ โดยความเร็วสูงสุดของมันนั้นอยู่เพียงแค่ 0.1 ไมล์ต่อชั่วโมง ซึ่งก็สอดคล้องกับหน้าที่หลักของมัน ที่เป็นไปในการสำรวจ ซึ่งไม่ต้องการความเร็วเท่าไหร่ โดยมันจะทำหน้าที่ในการเก็บตัวอย่างดิน, วิเคราะห์หิน และถ่ายรูปดาวอังคารมาเท่านั้น

ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้ มันก็ได้ถ่ายรูปไปแล้วกว่าร้อยกว่ารูป ซึ่งก็เป็นรูปของ Jazero’s Delta แอ่งหลุมบนดาวอังคารที่ถือว่าเป็นหนึ่งในเป้าหมายของมัน และก็คาดว่าเราจะได้เห็น-เรียนรู้อะไรหลายอย่างจากมันด้วยในตลอดระยะเวลา 2 ปีนี้

ที่ผ่านมา ผลงานวิจัยสร้างสรรค์นวัตกรรมจากสารสกัดข้าวไทยดังกล่าว ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำระดับนานาชาติแล้วรวม 3 ฉบับ และได้ยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา จำนวน 4 เรื่อง ผ่านการดำเนินการโดย สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล และกำลังอยู่ในระหว่างการขอเครื่องหมายรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) ก่อนวางตลาดในเดือนตุลาคม 2564 นี้

จากการคำนวณมูลค่าของการนำข้าวไทยมาเป็นวัตถุดิบในการดัดแปลงให้เป็นงานวิจัยนี้ พบว่า สามารถเพิ่มมูลค่าของข้าวไทยได้มากขึ้นถึง 40 เท่า

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป